วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 14

20 November 2019

อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานกลุ่มคือสื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละหัวข้อ โดยมีหัวข้อดังนี้
 1.จักรกล
 2.แสง
 3.น้ำ
 4.หิน ดิน ทราย
 5.ลม
 6.เสียง

ทำให้ได้เห็นไอเดียการทำสื่อวิทยาศาตร์ของเพื่อนและได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งทำให้เห็นและอธิบายหลักการได้จากการทำสื่อ





หลังจากนั้นอาจารย์ให้นำเสนองานเดี่ยวของแต่ละกลุ่ม ซึ่งอาจารย์ให้ทำื่อชิ้นเล็กและทำได้ง่ายเด็กสามารถทำเองได้ และเล่นได้ 


อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการนำเสนอสื่อ การอธิบายหลักการต่างๆ ซึ่งเราจะต้องมีความรู้และสามารถอธิบายหลักการให้เด็กเข้าใจได้ง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการไปจัดประสบการณ์ต่อไปในอนาคต


คำศัพท์


จักรกล Machine
แสง light
เสียง voice
กังหันน้ำ hydraulic turbineเงา Shadow








Recorded Diary 13


13 November 2019


อาจารย์ได้นัดนักศึกษาและพูดคุยเกี่ยวกับสื่อวิทยาศาตร์ที่จะทำเกี่ยวกับหัวข้อที่เราได้เลือก กลุ่มของดิฉันได้ทำหัวข้อ หิน ดิน ทราย อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ และเสนอแนะให้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ 

กลุ่มของดิฉันได้ทำเครื่องกรองน้ำ 



วัสดุอุปกรณ์1. ทราย2. ถ่าน3. กรวดละเอียด หรือ หิน4. สำลี / ผ้าขาว5. ขวดน้ำใหญ่แบบใส

ขั้นตอนการทำ 1. ใส่สำลีลงไปชั้นแรก อัดให้แน่นๆ2. ใส่ทรายละเอียดเติมลงไป3. กรวดละเอียด หรือ หิน4. ถ่าน5. กรวดหยาบ ใส่ชั้นบนสุด6. จากนั้นเทน้ำสกปรกลงไป รอสักพักจะได้น้ำสะอาด(กว่าเดิม)มาใช้งาน

โดยแต่ละชั้นจะมีคุณสมบัติดังนี้

กรวด, หิน – กรองหยาบ

ทราย – กรองละเอียด

สำลี – กรองละเอียดมาก

ถ่าน – ช่วยปรับกลิ่น






และได้ทำสื่อของตัวเองคือ บิงโกหินสี

วัสดุ-อุปกรณ์1.หิน2.กระดาษแข็ง3.สีน้ำ4.พู่กัน

วิธีการทำ1.นำหินมาทาสีโดยมี4สี คือสีเหลือง น้ำเงิน แดง และเขียว2.ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส3.แบ่งกระดาษเป็นด้านละ4ช่องเท่าๆกัน เป็น16ช่อง4.ทาสีบนกระดาษแข็งโดยเป็นช่องละสีแตกต่างกันและคละกัน

วิธีการเล่น1.จับฉลากหินสีเมื่อได้หินสีไหนให้นำหินวางให้ตรงกับช่องสีนั้น
2.วิธีบิงโกคือ วางหินเรียงครบทั้ง4ช่องเป็นแนวเดียวกัน ทั้งแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้



คำศัพท์

จับฉลาก Draw lots 

หิน stone

เครื่องกรองน้ำ Filter water

ทราย Sand

ดิน soil




Recorded Diary 12


อาจารย์ให้นักศึกษาไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ โดยอาทิตย์นี้ จะมีกิจกรรม ภูเขาไฟลาวา ลูกข่างหลากสี และภาพล่องหนสีเขียวและสีแดง

โดยกลุ่มที่ไม่ได้ทำการทดลองจะต้องคอยดูแลความเรียบร้อยของเด็ก จะต้องมีการเตรียมพร้อมเด็กก่อนทำกิจกรรม


กลุ่มของดิฉันได้ทำการทดลองภูเขาไฟลาวา โดยขั้นตอนแรกกล่าวสวัสดีทักทายเด็กๆและร่วมสนทนาอธิบายกับเด็กเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทำ 



บอกวัสดุอุปกรณ์


ก่อนทำการทดลองต้องให้เด็กตั้งสมมติฐานว่าเด็กๆคิดว่าการทดลองของเราจะเป็นอย่างไร เมื่อทำการทดลอง ต้องให้เด็กออกมามีส่วนร่วม


ระหว่างกลุ่มอื่นทำการทดลองจะมีกิจกรรมวาดภาพระบายสีสิ่งที่เด็กๆเห็นจากการทดลอง


 คำศัพท์

ภูเขาไฟ volcanoลูกข่าง topน้ำส้มสายชู vinegarส่วนร่วม Participateดินน้ำมัน clay




Recorded Diary 11

30 october 2019








อาจารย์ให้นักศึกษาไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่
โดย การจัดกิจกรรมมี6กลุ่ม แบ่งเป็นอาทิตย์ละ3กลุ่ม โดยอาทิตย์นี้ จะมีกิจกรรม การลอยจม ลูกโป่งพองโต และการแยกเกลือกับพริกไทย 

โดยกลุ่มที่ไม่ได้ทำการทดลองจะต้องคอยดูแลความเรียบร้อยของเด็ก จะต้องมีการเตรียมพร้อมเด็กก่อนทำกิจกรรม



คำศัพท์activities กิจกรรม
test การทดลอง
balloon ลูกโป่ง
Substance สาร
Prepare เตรียมความพร้อม




Recorded Diary 10

16 October 2019


อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอการทดลองอีกครั้ง เพื่อจะให้เรามีประสบการณ์และมีแนวทางที่ดีในการไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก





อาจารย์ได้แจกแผ่นกระดาษเอ4 ให้นักศึกษาทำสื่ออย่างง่ายในการสอนวิทยาศาตร์ให้กับเด็ก และได้ให้คำแนะนำว่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร และได้ให้นักศึกษาคิดสื่อและประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์จากกระดาษเอ4เอง และให้นักศึกษาอธิบายว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร






คำศัพท์


แรง forceความดัน pressureลม windความเร็ว speedการเคลื่อนที่ movement


Recorded Diary 9

2 October 2019


อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าชมนิทรรศการ การศึกษาปฐมวัยโปรเจกต์ 
ได้เห็นผลงาน สื่อของรุ่นพี่ แผนการจัดประสบการณ์ ซึ่งสามารถเป็นแนวทางให้เราได้ในอนาคต 
และมีรุ่นพี่ที่มาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ต่างๆ เล่าประสบการณ์ของตนเองให้ฟังเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป







คำศัพท์

Experience ประสบการณ์
describe บรรยาย
portfolio ผลงาน
activities กิจกรรม
coach ฝึกสอน



Recorded Diary 8

18 september 2019



อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอการทดลอง







อาจารย์ให้คำแนะนำว่าเราควรนำเสนอการทดลองอย่างไร ควรนำไปจัดประสบการณ์ยังไงให้กับเด็กจึงจะเหมาะสม และได้บอกลำดับขั้นตอนการทดลอง ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทดลอง ร่วมสนทนากันก่อนทำการทดลอง การใช้คำถามปลายเปิดในการให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นก่อนการทดลอง และให้เด็กออกมาช่วยทำการทดลอง ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง





คำศัพท์


1.สมมติฐาน hypothesis

2.การทดลอง experiment

3.ส่วนร่วม Participate

4.แนะนำ suggest

5.การปฏิบัติ practice


วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 6

4 september 2019



วิทยาศาสตร์คือสิ่งต่างๆรอบตัว 

     สาระการที่ควรเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

      1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและเพศของตนเอง การเรียกชื่อส่วนต่างๆ ของใบหน้าและร่างกาย การดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ การล้างมือ การขับถ่าย การรับประทานอาหาร การถอดและสวมใส่เสื้อผ้า การรักษาความปลอดภัย และการนอนหลับพักผ่อน

      2.ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัว เช่น สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำเล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตราย การเดินเล่นในสวน การเพาะปลูกอย่างง่าย แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว

      3. สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัว การเชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายๆ ของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด ผิวสัมผัส ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด

      4.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัว การรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดู วิธีปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม การทักทายด้วยการไหว้ การเล่นกับพี่น้องในบ้าน การไปเที่ยวตลาดและสถานที่ต่างๆ ในชุมชน การเล่นที่สนามเด็กเล่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ดังนี้


1.  ทักษะการสังเกต Observing ) 

หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป การสังเกตเป็นกระบวนการหลักที่จะนำไปสู่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์


2.  ทักษะการวัด Measuring ) หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดปริมาณสิ่งของต่าง ๆ ออกเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ และจะต้องมีจุดมุ่งหมายในการวัดว่า จะวัดอะไร วัดทำไม จะใช้อะไรวัด และวัดอย่างไร

 3.  ทักษะการใช้ตัวเลข (การคำนวณ)  ( Using Numbers ) หมายถึง การนำเอาตัวเลขที่ได้จากการวัด การสังเกต การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การหาค่าเฉลี่ย การยกกำลัง เป็นต้น

 4.  ทักษะการจำแนกประเภท ( Classifying ) หมายถึง การจำแนกหรือจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ การกำหนดเกณฑ์อาจทำได้ โดยการกำหนดขึ้นเองหรือมีผู้อื่นกำหนดให้ การจำแนกประเภทอาจทำได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่กำหนด

 5.  ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา Using Space/Relationship ) สเปส หมายถึง ที่ว่างหรืออวกาศ สเปสของวัตถุ หมายถึง ทางที่วัตถุนั้นครองที่หรือกินอยู่ และมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้วสเปสของวัตถุจะมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และ ความสูง (หรือความหนา)  ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนขนาดหรือปริมาณของวัตถุกับเวลาอาจกล่าวโดยภาพรวมได้ว่า การใช้ความสัมพันธ์เกี่ยวกับสเปส หมายถึง ความสามารถในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่อไปนี้ คือ     1.  ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิต     2.  สิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพที่ปรากฏในกระจกเงาว่าจะเป็นซ้ายขวาของกันและกันอย่างไร     3.  ตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง     4.  การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับเวลา

 6.  ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล Comunication ) การสื่อความหมาย หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับ การจัดหมู่ หรือการคำนวณหาค่าใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้และหรือให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้น ๆ ดีขึ้น การสื่อความหมายข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วมาเสนอและแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นได้ดีขึ้น 

7.  ทักษะการลงความคิดเห็น Inferring ) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัตถุหรือปรากฏการณ์ไปสัมพันธ์กับความรู้หรือประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อสรุปหรืออธิบายปรากฏการณ์หรือวัตถุนั้น 

8.  ทักษะการพยากรณ์ Predicting ) หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ความรู้ที่เป็นความจริง หลักการ กฎหรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น ๆ มาช่วยทำนายหรือคาดคะเน การพยากรณ์อาจทำได้ 2 แบบ คือ การพยากรณ์ในขอบเขตของข้อมูล และการพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล 

9.  ทักษะการตั้งสมมติฐาน ( Formulating Hypthesis ) หมายถึง การคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คำตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบหรือเป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐานหรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้ามักเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ซึ่งอาจผิดหรือถูกก็ได้ 

10.  ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( Defining Operationally ) หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆ ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดได้ 

11.  ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร ( Controlling Variables ) หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และ ตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง ๆ

12.  ทักษะการทดลอง ( Experimenting ) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบของสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือความสามารถในการดำเนินการตรวจสมมติฐานโดยการทดลอง

13. ทักษะการแปรความหมายข้อมูล ( Interpreting data ) การแปรความหมายข้อมูลหมายถึงการตีความหมายหรือการบรรยายลักษณะเพื่อสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การแปรความหมายข้อมูลจึงจัดเป็นกระบวนการขั้นสุดยอดหรือขั้นสุดท้ายของกระบวนการวิทยาศาสตร์


คำศัพท์

1.ทักษะการสังเกต Observing )
2.ทักษะการวัด Measuring )
3.ทักษะการใช้ตัวเลข (การคำนวณ)  ( Using Numbers )
4.ทักษะการจำแนกประเภท ( Classifying )
5.ทักษะการลงความคิดเห็น Inferring )
6.ทักษะการพยากรณ์ Predicting )
7.ทักษะการทดลอง Experimenting )8.ทักษะการตั้งสมมติฐาน Formulating Hypthesis ) 


วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 5

28 August 2019

อาจารย์ให้เข้าร่วมงานวิชาการของคณะศึกษาศาสตร์






Recorded Diary 4

18 August 2019

การเข้าชมมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ อาคาร6-12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

ภายในงานจะมีนิทรรศการต่างๆ ได้แก่

🌳นิทรรศการเทิดพระเกียรติ"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
🌳นิทรรศการภารกิจพิชิตดวงจันทร์ (Mission to the Moon)
🌳นิทรรศการนิโคลา เทสลา ยอดนักประดิษฐ์ ผู้คิดเปลี่ยนโลก (Nicola Tesla The Man Changed the world)
🌳นิทรรศการมหัศจรรย์ เมืองแห่งธาตุ (The Miracle of Element City)
🌳นิทรรศการต่างประเทศ (LEGO Space Challenge Land)
🌳นิทรรศการเทิดพระเกียรติ (Royal Pavilion)
   🐐นิทรรศการเทิดพระเกียรติ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และ "พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย"
   🐐นิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
🌳นิทรรศการ พินิจ พิพิธ-พันธุ์ (Biodiversity AMUSE-um)
🌳นิทรรศการ ข้าว คือ ชีวิต (Rice is Life)
🌳นิทรรศการ พลาสติกโลก (Plastic Changed the World)
🌳นิทรรศการ Maker Space : ย้อนอดีตสิ่งประดิษฐ์ พลิกความคิดสู่อนาคต (Everyone can be Engineer)











วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

RESEARCH


สรุปวิจัย 

เรื่อง ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี โดยเปรียบเทียบทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสีแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสีและแบบทดสอบวัดทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ผลการวิจัยพบว่าหลังจากเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี เด็กปฐมวัยมักมีทักษะการสังเกตและทักษะการเปรียบเทียบสูงขึ้น โดยการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี เป็นกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสทดลอง ค้นคว้าหาคำตอบโดยใช้ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบ ผ่านผลงานศิลปะ ซึ่งเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดในการสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในเรื่องของสี ขนาด รูปร่าง รูปทรง การเปลี่ยนแปลงของสี โดยกิจกรรมนี้ได้ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้แก่ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบรวมถึงพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน โดยผ่านกระบวนการย้อมสี ทาสี หยดสี พ่นสี แต้มสี จุ่มสี ลงบนสงที่ต้องการให้เปลี่ยนสี เช่น ผ้า กระดาษ แป้ง เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวในแต่ละ กิจกรรมจะใช้เวลา 40 นาที

โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ
2.1 ขั้นนำ ครูแนะนำชื่อกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ในการทํากิจกรรมที่เตรียมไว้ให้เด็กได้ ศึกษาลักษณะ สี รูปทรง รูปร่าง และขนาด พร้อมทั้งใช้เพลงเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะให้เด็กได้ทำกิจกรรม
2.2 ขั้นดำเนินกิจกรรม ให้เด็กวางแผนการทําศิลปะสร้างสรรค์ด้วยตนเอง พร้อมทั้งให้เด็กสร้างสรรค์ผลงาน และชิ้นงาน จากวัสดุอุปกรณ์ที่กำหนดให้ในแต่ละวัน โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น อธิบาย แนะนำ และส่งเสริมให้เด็กสนใจในกิจกรรม และลงมือทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
2.3 ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันพูดคุย สนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมและเล่าถึงผลงานของตน โดยครูบันทึกคำพูดของเด็กและรายละเอียดของผลงาน พร้อมทั้งสรุปถึงสิ่งที่เด็กได้จากการทำกิจกรรม


อ้างอิง : ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 2



14 สิงหาคม พ.ศ.2562


อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ตอบคำถามว่านักศึกษาคิดว่าเด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องอะไรบ้าง 

วามรู้ที่ได้


-เราต้องเรียนรู้เรื่องสมองเพราะต้องส่งเสริมให้เด็กมีการเตรียมพร้อมของการสมอง ต้องพัฒนาสมองของเด็กให้เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในขั้นต่อไป-ต้องให้เด็กปฏิบัติ ให้เด็กเล่นเพราะการเล่นเป็นวิธีการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้-เนื้อหาการจัดประสบการณ์เริ่มจากง่ายไปยากเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาของเด็ก เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาแตกต่างกัน-เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 

ซึมซับ ➧รับรู้ ➧ปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ เกิดการเรียนรู้ ➧เพื่อความอยู่รอด


คำศัพท์

1.Brain สมอง2.Absorb ซึมซับ 3.Structure โครงสร้าง4.Acknowledge รับรู้5.behavior พฤติกรรม






Recorded Diary 1


7 สิงหาคม พ.ศ.2562


ความรู้ที่ได้รับ


-อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กว่ามีการเรียนการสอนอย่างไร และให้เราไปศึกษา มคอ.(การอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ) ว่าเราต้องเรียนเนื้อหาสำคัญอะไรบ้าง -อาจารย์ให้สร้างบล็อก และบอกแนวทางการทำบล็อก ว่าควรจัดหน้าอย่างไร ควรมีเนื้อหาอย่างไร มีการจัดลำดับเนื้อหาอย่างไรเพื่อให้เข้าใจต่อการศึกษา


คำศัพท์


1. Science Provision for Early Childhood การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.Research วิจัย
3.process กระบวนการ
4.important สำคัญ
5.Descriptionรายละเอียด



Recorded Diary 14

20 November 2019 อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานกลุ่มคือสื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละหัวข้อ โดยมีหัวข้อดังนี้  1.จักรกล  2.แสง  3.น้ำ  4.หิ...