วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

RESEARCH


สรุปวิจัย 

เรื่อง ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี โดยเปรียบเทียบทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสีแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสีและแบบทดสอบวัดทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ผลการวิจัยพบว่าหลังจากเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี เด็กปฐมวัยมักมีทักษะการสังเกตและทักษะการเปรียบเทียบสูงขึ้น โดยการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี เป็นกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสทดลอง ค้นคว้าหาคำตอบโดยใช้ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบ ผ่านผลงานศิลปะ ซึ่งเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดในการสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในเรื่องของสี ขนาด รูปร่าง รูปทรง การเปลี่ยนแปลงของสี โดยกิจกรรมนี้ได้ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้แก่ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบรวมถึงพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน โดยผ่านกระบวนการย้อมสี ทาสี หยดสี พ่นสี แต้มสี จุ่มสี ลงบนสงที่ต้องการให้เปลี่ยนสี เช่น ผ้า กระดาษ แป้ง เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวในแต่ละ กิจกรรมจะใช้เวลา 40 นาที

โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ
2.1 ขั้นนำ ครูแนะนำชื่อกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ในการทํากิจกรรมที่เตรียมไว้ให้เด็กได้ ศึกษาลักษณะ สี รูปทรง รูปร่าง และขนาด พร้อมทั้งใช้เพลงเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะให้เด็กได้ทำกิจกรรม
2.2 ขั้นดำเนินกิจกรรม ให้เด็กวางแผนการทําศิลปะสร้างสรรค์ด้วยตนเอง พร้อมทั้งให้เด็กสร้างสรรค์ผลงาน และชิ้นงาน จากวัสดุอุปกรณ์ที่กำหนดให้ในแต่ละวัน โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น อธิบาย แนะนำ และส่งเสริมให้เด็กสนใจในกิจกรรม และลงมือทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
2.3 ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันพูดคุย สนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมและเล่าถึงผลงานของตน โดยครูบันทึกคำพูดของเด็กและรายละเอียดของผลงาน พร้อมทั้งสรุปถึงสิ่งที่เด็กได้จากการทำกิจกรรม


อ้างอิง : ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 2



14 สิงหาคม พ.ศ.2562


อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ตอบคำถามว่านักศึกษาคิดว่าเด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องอะไรบ้าง 

วามรู้ที่ได้


-เราต้องเรียนรู้เรื่องสมองเพราะต้องส่งเสริมให้เด็กมีการเตรียมพร้อมของการสมอง ต้องพัฒนาสมองของเด็กให้เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในขั้นต่อไป-ต้องให้เด็กปฏิบัติ ให้เด็กเล่นเพราะการเล่นเป็นวิธีการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้-เนื้อหาการจัดประสบการณ์เริ่มจากง่ายไปยากเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาของเด็ก เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาแตกต่างกัน-เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 

ซึมซับ ➧รับรู้ ➧ปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ เกิดการเรียนรู้ ➧เพื่อความอยู่รอด


คำศัพท์

1.Brain สมอง2.Absorb ซึมซับ 3.Structure โครงสร้าง4.Acknowledge รับรู้5.behavior พฤติกรรม






Recorded Diary 1


7 สิงหาคม พ.ศ.2562


ความรู้ที่ได้รับ


-อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กว่ามีการเรียนการสอนอย่างไร และให้เราไปศึกษา มคอ.(การอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ) ว่าเราต้องเรียนเนื้อหาสำคัญอะไรบ้าง -อาจารย์ให้สร้างบล็อก และบอกแนวทางการทำบล็อก ว่าควรจัดหน้าอย่างไร ควรมีเนื้อหาอย่างไร มีการจัดลำดับเนื้อหาอย่างไรเพื่อให้เข้าใจต่อการศึกษา


คำศัพท์


1. Science Provision for Early Childhood การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.Research วิจัย
3.process กระบวนการ
4.important สำคัญ
5.Descriptionรายละเอียด



SCIENCE MEDIA


ตัวอย่างสื่อการสอน



นิทาน








การ์ตูน


Science Kids พิชิตปริศนา ตอนที่ 2 พิชิตสายฟ้า

เกิดเหตุการณ์แปลกประหลาด เมื่อฟ้าผ่าหอนาฬิกากลางหมู่บ้านป่าหรรษา และบ้านของชาวบ้านหลายหลัง โดย Black Magic อ้างว่าเป็นเพราะเทพเจ้าสายฟ้าพิโรธ เหล่า Science Kids จึงต้องออกตามหาความจริง เหตุการณ์ประหลาดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ติดตามได้ใน Science Kids พิชิตปริศนา ตอน พิชิตสายฟ้า



TEACHING EXAMPLES



ตัวอย่างการจัดประสบการณ์



วิทยาศาสตร์ประกอบอาหาร ชั้นอนุบาล 1 เมนู “บัวลอย”


นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสาร เช่น แป้งผสมน้ำแล้วเป็นอย่างไร ได้ประกอบอาหารเมนูต่างๆ ซึ่งเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือ และมีการบูรณาการวิชาการต่างๆเข้าไปด้วย ในเมนู “บัวลอย” นักเรียนได้ฉีกใบเตย นวดแป้ง ปั้นแป้งเพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือ ได้รู้จักสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฟักทอง ใบเตย อัญชัน ดูการคั้นน้ำใบเตยว่าได้น้ำสีอะไร เมื่อประกอบอาหารเสร็จ นักเรียนทุกคนได้รับประทานบัวลอยฝีมือของตนเองจะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้การลอย การจม การเปลี่ยนแปลงของแป้งข้าวเหนียวที่จะนำมาทำบัวลอย โดยครูให้เด็กสังเกตลักษณะของแป้งข้าวเหนียว โดยการใช้ประสาทสัมผัส และบอกได้ว่ามีแป้งก่อนที่จะผสมน้ำมีลักษณะเป็นผง มีสีขาว เมื่อนำมาผสมน้ำ จะสามารถปั้นเป็นก้อนกลมๆได้


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

THE ARTICLE

บทความ


สรุป


การเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์  การสร้างประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือการส่งเสริมให้เด็กสนใจ อยากรู้ อยากเห็น เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่รอบตัว ฝึกได้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และการตั้งคำถาม ถ้าเด็กรู้จักสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เข้าใจสิ่งที่เขาสงสัย เข้าใจโลกที่เขาอยู่ 
สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว ดังนี้1. สาระเกี่ยวกับพืช ได้แก่ พืช เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่ ต้นไม้ ดอกไม้ ผลไม้ การปลูกพืช การใช้ประโยชน์จากพืช2. สาระเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์ การเลี้ยงสัตว์3. สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย ความร้อน ความเย็น4. สาระเกี่ยวกับเคมี ได้แก่ รสผลไม้ การละลายของน้ำแข็ง5. สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา ได้แก่ ดิน ทราย หิน ภูเขา6. สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาว ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน
 ตัวอย่าง กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์→เล่นเกมทายชื่อสัตว์ พืชผัก ผลไม้→ชวนดูหนังสือภาพ หนังสือเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต และพูดคุยกับลูก→ชวนให้สังเกตต้นไม้ สัตว์เลี้ยงในบ้าน หรือสัตว์ที่เข้ามาในบริเวณบ้าน เช่น นก ผีเสื้อ แมลง จิ้งจก →แล้วชวนพูดคุยถึงชีวิตความเป็นอยู่ รูปร่าง ลักษณะ การเจริญเติบโต→พูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับวงจรชีวิตสัตว์ทั้งจากของจริง หรือจากหนังสือ หรือจากรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต→ให้เด็กรู้จักวิธีถนอมอาหารที่ใช้ในครัวเรือนและชุมชน เช่น การทำปลาแห้ง ปลาเค็ม ผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง→ชักชวนเด็กให้หัดสังเกตการเจริญเติบโต และทดลองเลี้ยงสัตว์ เช่น หนอนผีเสื้อ→ชักชวนให้เด็กไปสวนสาธารณะหรือสถานที่ต่าง ๆ เพื่อใเด็กสัมผัสของจริง เพื่อแยกแยะลักษณะของต้นไม้ใบหญ้าอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ใบกลม ใบเรียว ใบสั้น ใบยาว 


อ้างอิง  ⏩ การเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 



Recorded Diary 14

20 November 2019 อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานกลุ่มคือสื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละหัวข้อ โดยมีหัวข้อดังนี้  1.จักรกล  2.แสง  3.น้ำ  4.หิ...